สรุป
บทที่
3
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral Theories)
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีการเรียนรู้ที่ได้รับความนิยม คือทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
ในช่วง ค.ศ. 1970 ได้มีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากพฤติกรรมนิยมมาสู่พุทธิปัญญานิยม
(Cognitivism)
ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ต่อมา เกิดกระบวนการทัศน์ทางการเรียนรู้ใหม่ คือ คอนสตรัคติวิสต์ (Construsctivism)
ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ต่อมา เกิดกระบวนการทัศน์ทางการเรียนรู้ใหม่ คือ คอนสตรัคติวิสต์ (Construsctivism)
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรม (Behavioral
Theories)
การเรียนรู้ตามแนวคิดกลุ่มทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเป็นผลอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมที่สำคัญ
และเป็นผู้ที่ผลงานมีบทบาทในงานทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาในปัจจุบัน ได้แก่ Povlov,
Watson, Thorndike และ Skinner
นักจิตวิทยากลุ่มนี้ได้จำแนกพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. พฤติกรรมเรสปอนเดนส์ (Response Behavior) หมายถึง
พฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้า ซึ่งสามารถวัดและสังเกตได้
2. พฤติกรรมโอเปอแรนท์ (Operant
Behavior) หมายถึง พฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา
(Emitted) โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
(Classical
Conditioning Theory)
แนวคิดของพาพลอฟ
(Pavlov)
พาฟลอฟได้ทำการวิจัยและแสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
โดยการทดลองที่ทำให้สุนัขน้ำลายไหลเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง
ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังนี้
1. สั่นกระดิ่งก่อนที่จะนำอาหาร (ผงเนื้อ) ให้แก่สุนัข เวลาระหว่างการสั่นกระดิ่ง และให้ผงเนื้อแก่สุนัข จะต้องเป็นเวลาที่กระชั้นชิดมากประมาณ .25 ถึง .50 วินาที
1. สั่นกระดิ่งก่อนที่จะนำอาหาร (ผงเนื้อ) ให้แก่สุนัข เวลาระหว่างการสั่นกระดิ่ง และให้ผงเนื้อแก่สุนัข จะต้องเป็นเวลาที่กระชั้นชิดมากประมาณ .25 ถึง .50 วินาที
2. กระทำซ้ำโดยสั่นกระดิ่งก่อนและให้ผงเนื้อแก่สุนัขควบคู่กันหลาย
ๆ ครั้ง
3. หยุดให้อาหารเพียงแต่สั่นกระดิ่งอย่างเดียวเท่านั้น
ก็ปรากฏว่าสุนัขก็ยังคงมีน้ำลายไหลได้
แนวคิดของวัตสัน
วัตสันได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม”
ทฤษฎีของเขามีลักษณะในการอธิบายเรื่องการเกิดอารมณ์จากการวางเงื่อนไข (Conditioned
emotion)
วัตสันทำการทดลองโดยให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว
ขณะที่เด็กกำลังจะจับหนูขาว ก็ตีแผ่นเหล็กให้เกิดเสียงดัง เด็กจะตกใจร้องไห้ หลังจากนั้นเด็กจะกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว
ต่อมาทดลองนำหนูขาวมาให้เด็กดูใหม่ โดยให้แม่กอดและคอยปลอบเด็กไว้จากนั้นเด็กก็จะค่อย
ๆ หายกลัวหนูขาว
วัตสันสรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ ดังนี้
1. พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
และการเรียนรู้จะคงทนถาวร
หากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2.
เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใด ๆ ได้ ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบลงมือกระทำ (Operant
Conditioning Theory)
แนวคิดของธอร์นไดค์ (Thorndike)
เป็นผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา
และเป็นผู้ที่คิดทฤษฎี Connectionism
ที่เชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดจากการลองผิดลองถูก ในระหว่างนั้น S-R
คู่ใด ได้รับการเสริมแรงจะทำให้เกิดความเชื่อโยงระหว่าง S-R คู่นั้น
ในการทดลอง ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้น
แล้วนำอาหารไปวางล่อไวนอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้
จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อจะออกไปจากกรง
จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจาก
นั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น
จากการทดลอง ธอร์นไดค์อธิบายว่า
การตอบสนองซึ่งแมวแสดงออกมาเพื่อแก้ปัญหา เป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก
การที่แมวสามารถเปิดกรงได้เร็วขึ้น ในช่วงหลังแสดงว่า
แมวเกิดการสร้างพันธะหรือตัวเชื่อมขึ้นระหว่างคานไม้กับการกดคานไม้ ธอร์นไดค์ได้สรุปกฎแห่งการเรียนรู้
ไว้ดังนี้
1. กฎแห่งผล (Law
of Effect) สิ่งเร้าใดที่มีการกระตุ้นให้มีการตอบสนองแล้ว
ทำให้ผู้เรียนได้รับผลที่น่าพึงพอใจจากการกระทำนั้นแล้ว
จะเป็นผลให้เกิดพฤติกรรมนั้นซ้ำ ๆ อีก หรือต้องการที่จะเรียนรู้สิ่งนั้นต่อไป
2. กฎแห่งความพร้อม (law
of Readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี
ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
3. กฎแห่งการฝึกหัด (low
of Exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อยๆ
ด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงถาวร ถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อยๆ
การเรียนรู้นั้นจะไม่คงถาวร และในที่สุดอาจจะลืมได้
4. กฎแห่งการใช้ (Law
of Use and disuse) การเรียนรู้จะเกิดจากการเชื่อมโยง
ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ถ้าได้มีการนำไปใช้บ่อย ๆ
การเรียนรู้นั้นจะมีความคงทนถาวร หากไม่มีการนำไปใช้บ่อย ๆ อาจจะเกิดการลืมได้
แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner)
สกินเนอร์มีความคิดว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของ
Pavlov
นั้น
จำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์
พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเอง
ไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของ Pavlov
สกินเนอร์ได้แบ่ง
พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตไว้ 2 แบบ คือ
1. Respondent
Behavior
คือ พฤติกรรมหรือการตอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ หรือเป็นปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) ซึ่งสิ่งมีชีวิตไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เช่น การกระพริบตา น้ำลายไหล
2.
Operant
Behavior คือ พฤติกรรมที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตเป็นผู้กำหนด
หรือเลือกที่จะแสดงออกมา ส่วนใหญ่จะเป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกในชีวิตประจำวัน
เช่น กิน นอน พูด เดิน ทำงาน ขับรถ
สำหรับการทดลองของสกินเนอร์
เขาได้สร้างกล่องทดลองขึ้นซึ่ง กล่องทดลองของสกินเนอร์ (Skinner
Boxes) จะประกอบด้วยที่ใส่อาหาร คันโยก หลอดไฟ
คันโยกและที่ใส่อาหารเชื่อมติดต่อกัน การทดลองเริ่มโดยการจับหนูไปใส่กล่องทดลอง
เมื่อหนูหิวจะวิ่งวนไปเรื่อย ๆ และไปเหยียบถูกคันโยก ก็จะมีอาหารตกลงมา
ทำให้หนูเกิดการเรียนรู้ว่าการเหยียบคันโยกจะได้รับอาหารครั้งต่อไปเมื่อหนูหิวก็จะตรงไปเหยียบคันโยกทันที
ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือว่าหนูตัวนี้เกิดการเรียนรู้แบบการลงมือกระทำเอง
สกินเนอร์เชื่อว่า
การเสริมแรงเป็นตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนพฤติกรรม
การเสริมแรง (Reinforcement) หมายถึง สิ่งเร้าใดที่ทำให้พฤติกรรมการเรียนรู้เกิดขึ้นแล้วมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีก
มีความคงทนถาวร เช่น การกดคานและจิกแป้นสีของนกพิราบได้ถูกต้องต้องการทุกครั้งเมื่อหิวหรือต้องการ
ในการทดลอง Skinner
ตัวเสริมแรง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1) การเสริมแรงทางบวก (Positive
Reinforcement) หมายถึง สิ่งของ คำพูด
หรือสภาพการณ์ที่จะช่วยให้พฤติกรรมเกิดขึ้นอีก
หรือสิ่งทำให้เพิ่มความน่าจะเป็นไปได้ของการเกิดพฤติกรรม
2) การเสริมแรงทางลบ (Negative
Reinforcement) หมายถึง
การเปลี่ยนสภาพการณ์หรือเปลี่ยนแปลงบางอย่างก็อาจจะทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น